เทคนิคแปลงเพศมะละกอ ขั้นตอนการเตรียมดินปลูก วิธีโน้มต้นและวิธีการคัดเลือกดอก มะละกอ

การเพาะมะละกอ

              หลังจากได้เมล็ดมาแล้วยังใหม่สด ไม่จำเป็นต้องตากให้แห้ง ถ้าไม่ต้องการเก็บ
การเพาะเมล็ดให้แช่น้ำ  ล้างเมือกออก ใช้มือขยำเอา เมือกจะหลุดไปเอง
 (เหตุที่ต้องล้างเมือกออก เพราะเมื่อเพาะและรดน้ำ มีความชื้น เมือกจะเกิดราทำให้เมล็ดเน่าได้  นี่คือสาเหตุว่าทำไมเพาะมะละกอ ยากจัง) แช่น้ำ  สามคืน  เปลี่ยนน้ำ  ทุกวัน   ในการเปลื่ยนน้ำ ถือโอกาส ล้างเมือกออกไปด้วย  หลังจากนั้น  นำลงถุงเพาะได้เลย หรือลงกะบะเพาะ ก็ตามสะดวก

เทคนิคแปลงเพศมะละกอ

       เทคนิคนี้ถือว่าได้ผลครับ แต่ไม่ 100 % ครับ ทดลอง 30 ต้น ได้ทดลองปลูก 30 ต้น เป็นต้นกระเทย 28 ต้น เป็นตัวเมีย 2 ต้น ซึ่งถือว่าโอเค

วิธีทำ

1. ย้ายกล้ามะละกอจากแปลงเพาะ ควรรดน้ำต้นกล้าให้ชุ่ม
2. ให้ตัดรากแก้วของกล้ามะละกอออกประมาณ 2 ข้อนิ้วมือหรือประมาณ 5 เซนติเมตร ซึ่งวัดจากปลายรากขึ้นไป
3. นำต้นมะละกอลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ควรวางต้นมะละกอเอียง 30 -45 องศา หันไปทางทิศตะวันออก เพื่อให้รับได้รับแสง

ขั้นตอนการเตรียมดินและปลูกมะละกอ

โดยการไถ ทำการตากดินไว้ประมาณ 5 วัน ขุดหลุมลึกประมาณ 30ซม.ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 2.5X 2.5 เมตร 1 ไร่ จะปลูกได้ ราว 250 ต้น และรองก้นหลุมด้วยแกลบดำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์
การขุดหลุมลึก 30×30 ซ.ม ใช้แกลบดำรองก้นหลุมผสมปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก หลุมละ 5 กิโล 1:1:1

ข้อดีของแกลบดำ

1.มีแร่ธาตุโปตัสเซียมและแคลเซียม
2.มีรูมากมายซึ่งจะเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์
3.เมื่อนำไปคลุมดินหรือนำไปผสมกับอินทรีย์วัตถุอย่างอื่น ช่วยลดความร้อนที่เกิดขึ้นเนื่องจากผ่านการย่อยสลาย
4.ช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้แก่หน้าดิน แกลบดำ เก็บความชื้นได้ดี สะอาด ไม่เป็นกรด นิยมใช้แกลบดำผสมในดินเพาะปลูกพืช เนื่องจากว่าจะช่วยเก็บความชื้นในดินและเนื่องจากว่าเป็นแกลบที่สะอาดเพราะผ่านการเผามาแล้วจึงช่วยลดปัญหาการติดโรคของพืชได้
ไม่ควรเอาแกลบดิบรองก้นหลุมเพราะมีธาตุชิส์กอนที่ยังไม่ย่อยสลาย ซึ่งจะเป็นตัวดึงก๊าซออกซิเจนและไนโตรเจน ที่มีอยู่ในอากาศไปใช้ในการย่อยสลาย ซึ่งก็คือการแย่งอาหารจากต้นพืชผักของเรานั่นเองฉะนั้น จึงไม่แนะนำให้เอาแกลบดิบเป็น ส่วนผสมรองพืชก้นหลุม หรือผสมกับวัตถุอินทรีย์ชนิดอื่น เพื่อปลูกต้นไม้ และไม่ควรเอาขี้เถ้ารองก้นหลุม เพราะในขี้เถ้ามีความเป็นด่าง ทำให้พืชต้นแคระแกรนไม่เจริญเติบโต

วิธีโน้มต้นมะละกอ

มะละกอโน้มต้นเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคนปลูกมะละกอ ต้นเตี้ย ดก และเก็บง่าย ลดการปะทะกับแรงลมวิธีการคือ ให้ปลูกหลุมละ 2 ต้น
  • หลังจากคัดดอกแล้วตัดให้เหลือ 1 ต้นต่อ 1 หลุม
  • นับจากยอดลงมาประมาณปล้องที่ 4 – 5 จากยอด ใช้เชือกฝางมัดแล้วดึงให้ต้นมะละกอเอียงประมาณ 45 องศา แล้วมัดติดกับหลักไม้
  • ปล่อยไว้ประมาณเดือน 4 – 5 มะละกอก็จะเริ่มตั้งต้นขึ้นเองตามธรรมชาติ
พอเข้าเดือนที่ 4 – 5 มะละกอจะเริ่มตั้งต้นขึ้นเองตามธรรมชาติ

วิธีการคัดเลือกดอก

การคัดดอกกะเทย(ลูกยาว) อย่างมืออาชีพ เนื่องจากหลายคนยังสับสนว่าจะดูดอกอย่างไร ระหว่างดอกตัวเมีย ลูกกลม กับดอกกะเทย ลูกยาว
ชาวสวนมะละกอทั่วไปจะดู ต้องให้เห็นดอกชัดเจนซึ่งจะต้องเสียเวลาประมาณเดือนที่ 3-4 ถึงจะเห็นชัดเจนและมีโอกาสพลาดได้
  • ซ้าย คือ ดอกกะเทย ลูกยาว รูปร่างคล้ายขวดน้ำปลา
  • ขวา คือ ดอกตัวเมีย ลูกกลม รูปร่างอวบอ้วนวงรี

ดอกกะเทยลูกยาว ตลาดต้องการ ราคาสูง

แต่ชาวสวนมืออาชีพอย่างเราต้องดูดอกแบบดังรูป โดยการฉีกดอกออกดู ซึ่งจะพบว่าภายในกลีบดอกจะมีก้านยาวๆอยู่หลายก้านล้อมรอบรังไข่กลมๆอยู่ โดยปลายก้านจะมีสีเหลืองๆติดอยู่ แบบนี้จะเห็นได้เร็วภายในเดือนที่ 2 ก็เห็นดอกแล้วและสามารถคัดเลือกต้นได้แล้ว

ดอกตัวเมีย ลูกกลม รูปร่างอวบอ้วนวงรี ให้ตัดทิ้งได้เลย ถ้าปลูกเพื่อขาย ถ้าปลูกเพื่อไว้กินเองก็ไม่ต้องตัด

รูปนี้คือ ดอกตัวเมีย ลูกกลม เมื่อฉีกกลีบดอกออกจะพบว่ามีลักษณะกลมอวบรี ดังรูป ซึ่งจะมีแต่รังไข่ ไม่มีก้านปลายสีเหลือง  ลูกกลม ตลาดไม่ต้องการ ราคาไม่ดี



       ก็จะได้มะละกอต้นเตี๊ยตามที่ท่านต้องการ การเก็บเกี่ยวมะละกอ ถ้าเก็บผลดิบสามารถเก็บได้หลังปลูกประมาณ 5-6 เดือน แต่ถ้าเก็บผลสุกหลังจากปลูกประมาณ 8-10 เดือน ถึงสามาถเก็บเกี่ยวได้ ให้เลือกเก็บเกี่ยวผลที่กำลังเริ่มสุกมีสีแต้มสีส้มปนเขียวนิดๆ ผลยังไม่นิ่ม เก็บผลขายได้ทุกสัปดาห์ ไปจน 3 ปี ต้นมะละกอจึงจะหมดอายุ ไม่สามารถให้ผลผลิตได้ ต้องตัดทิ้ง ปลูกใหม่

วิธีใส่ปุ๋ย การทำน้ำสกัดจากมูลสัตว์

1. น้ำสกัดมูลสัตว์ ได้จากการนำมูลสัตว์แห้ง เช่น มูลสุกร มูลโค บรรจุลงในถุงไนลอน (มุ้งเขียว) แล้วแช่ในน้ำ อัตราส่วนมูลสุกร 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 10 ลิตร
2. ปิดฝาถังให้สนิท และหมักไว้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วยกถุงที่บรรจุมูลสุกรออกจากถังจะได้น้ำสกัดมูลสัตว์สีน้ำตาลใส
3. บรรจุเก็บไว้ในถังหรือภาชนะที่มีฝาปิด น้ำสกัดมูลสัตว์ที่ได้สามารถหมักเก็บไว้ใช้ได้นาน ซึ่งจะทำให้น้ำสกัดใสยิ่งขึ้น และมีธาตุอาหารในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในปริมาณมากยิ่งขึ้น การทำน้ำสกัดมูลสัตว์จะทำให้ประหยัดกว่าการใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยทางดินโดยตรง เนื่องจากมูลสัตว์แห้ง 1 กิโลกรัม ทำน้ำสกัดได้ประมาณ 8 ลิตร นำน้ำสกัดส่วนใสที่ได้มาเจือจางกับน้ำได้ 10 – 20 เท่า เป็น 80 – 160 ลิตร เพื่อใช้เป็นปุ๋ยรดทางดินหรือฉีดพ่นทางใบ ส่วนกากของมูลสัตว์ที่เหลือ สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยทางดินได้เลยโดยไม่ต้องเสียเวลาหมักนานถึง 45 วัน เหมือนปุ๋ยหมักทั่วไป
น้ำสกัดมูลสัตว์มีปริมาณธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช สามารถใช้เป็นปุ๋ยรดทางดินและฉีดพ่นทางใบเพื่อเร่งการเจริญเติบโต การเพิ่มผลผลิตของพืช อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นปุ๋ยเพื่อแก้ไขอาการขาดธาตุอาหารของพืชได้ น้ำสกัดมูลสุกรมีปริมาณธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุเกือบทุกธาตุในปริมาณมากกว่าที่พบในน้ำสกัดมูลไก่ไข่และน้ำสกัดมูลโคนม ยกเว้นโพแทสเซียมที่พบในน้ำสกัดมูลไก่ไข่มากกว่าเล็กน้อย และแคลเซียมที่พบในน้ำสกัดมูลโคนมมากกว่า ดังนั้น หากต้องการใช้น้ำสกัดมูลไก่ไข่หรือโคนมเป็นปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ ควรจะใช้ในอัตราส่วนมากกว่าน้ำสกัดมูลสุกร เนื่องจากน้ำสกัดมูลสุกรมีปริมาณธาตุอาหารมากกว่าหรือเข้มข้นกว่าน้ำสกัดมูลโคนม

                                                                        ที่มา : www.phuea-khun.com