ประชุมขับเคลื่อนสมาพันธ์ฯ เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ศรีสะเกษ ครั้งที่ 3


         วันที่ 17 เมษายน 2562 เวลา 13.30 น.  ณ ห้องประชุมอาคารศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ  สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนศรีสะเกษ และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ ได้ร่วมกันประชุมเพื่อขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ศรีสะเกษ 
        

             นายอรัญ สิงห์คำ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ แสดงความยินดียิ่ง ที่ได้ต้อนรับคณะสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนศรีสะเกษอีกครั้ง และได้กล่าวว่าการได้ร่วมงานกับสมาพันธ์เป็นบทบาทอีกบทบาทหนึ่งในการจัดการศึกษาของวิทยาลัย ซึ่งเป็นภาระงานของวิทยาลัยและมีนโยบายจากต้นสังกัดให้จัดการศึกษาร่วมกับชุมชน องค์กรชุมชน เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชากรของประเทศ วิทยาลัยมีบุคลากรครบทุกด้านทั้งพืช สัตว์ ประมง และเทคโนโลยี พร้อมร่วมกับสมาพันธ์ขับเคลือนการพัฒนาไปด้วยกัน  วิทยาลัยเป็นวิทยาลัยเปิดในการจัดประชุมทางวิชาการ เปิดการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดร่วมกับสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนศรีสะเกษ วิทยาลัยได้พยายามเปิดตลาดวิชาการด้วยการจัดการศึกษานอกสถานที่ร่วมกับชุมชนที่มีความพร้อมไปแล้วหลายจุดและจะขยายเปิดต่อไปตามศักยภาพของชุมชน จึงขอเชิญชวนและประชาสัมพันธ์ให้มาใช้บริการต่างๆ ของวิทยาลัย


              นายสุธรรม ป้องกัน ประธานสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนศรีสะเกษ ได้กล่าวว่าสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนศรีสะเกษ มีนโยบายเพื่อพัฒนาส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์และเพื่อคุณภาพของการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยเป็นองค์เพื่อสังคมที่เน้นการเชื่อมโยงและมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนศรีสะเกษประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ ดังนี้ 
                     1)  แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสมาพันธ์ฯ
                    2)  แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารระดับอำเภอ
                    3)  
แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

                    4)  แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจแปลงเกษตรกรรมยั่งยืนศรีสะเกษ


                และท่านยังได้เสนอระเบียบของสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนศรีสะเกษ  และเสนอจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืนขึ้นแต่ละอำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ ประสานกับวิสาหกิจชุมชนที่มีวัตถุประสงค์การดำเนินงานแบบเดียวกัน เพื่อ ร่วมกันก่อตั้งเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืนศรีสะเกษ และ บ.ศรีสะเกษออร์แกนิควิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ในโอกาสต่อไป  ต่อที่ประชุมเพื่อพิจารณา

         


          นายนิยม รอดเนียม และ นายบุญรุ้ง สีดำ  เสนอแนวทางการตรวจแปลง เพื่อให้มาตรฐานการตรวจแปลงเป็นมาตรฐานเดียวกันในระดับจังหวัด ซึ่งได้กำหนด เรื่องการลงพื้นที่ตรวจแปลง การปรับปรุงแก้ไขการตรวจ การลงฐานข้อมูล และการเสนอคณะกรรมการกรั่นกรอง

         

นายขวัญประชา  เทียมใส เสนอแนวทางการทำงานคณะกรรมการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและได้เสนอหลักการการทำงานของคณะ ซึ่งจะดูไปจนถึงการตลาด เว๊บไซต์ การผลิตสื่อมัลติมีเดีย ผลิตสื่อและประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียล

          นายสมคิด สุริยเลิศ  ได้กล่าวถึง พรบ.ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ตามมาตรการส่งเสริม มติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ 27 กุมภาพันธ์ 2562 ดังนี้คือ
                   5.1.1 การส่งเสริมการเรียนการสอนการประกอบการสังคม
                   5.1.2 การส่งเสริมการวิจัยนวัตกรรมสังคม
                   5.1.3 ระบบบ่มเพาะและสนับสนุน
                   5.1.4 การให้เงินทุนเริ่มต้น
                   5.1.5 การให้เงินกู้ยืมและระบบสินเชื่อพิเศษ
                   5.1.6 ระบบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ
                   5.1.7 สิทธิประโยชน์ทางภาษีของนักลงทุนและวิสาหกิจเพื่อสังคม
          และยังได้กล่าวว่า วิสาหกิจเพื่อสังคม เป็นนิติบุคคลในรูปแบบใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทจำกัดเท่านั้น โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือห้ามปันผลเกิน 30% และ 70% ของผลกำไรต้องนำไปลงทุนซ้ำ


เลิกประชุมเวลา 16.30  น.

#รายงานโดย นายขวัญประชา เทียมใส ผู้ช่วยเลขาธิการสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนศรีสะเกษ