เกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable Agriculture) คือระบบเกษตรที่ครอบคลุมถึงวิถีชีวิต
เกษตรกร กระบวนการผลิต และการจัดการทุกรูปแบบ เพื่อให้เกิดความสมดุลทางเศรษฐกิจ
สังคม สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศซึ่งนำไปสู่การพึ่งตนเองและการพัฒนา
คุณภาพชีวิตของเกษตรกรและ ผู้บริโภคเกษตรกรรมยั่งยืนครอบคลุมเกษตรธรรมชาติ
เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร เกษตรผสมผสาน และเกษตรทฤษฎีใหม่
ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรรมยั่งยืนรูปแบบใด
หากเกษตรกรผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือน หรือ การแบ่งปันในกลุ่มเล็กๆ
คงไม่มีความจำเป็นต้องพัฒนามาตรฐานใดๆ แต่หากทำการผลิตและ
แปรรูปโดยมีเป้าหมายเพื่อการค้าขาย ไม่ว่าจะภายในชุมซน ภายในจังหวัด
หรือข้ามจังหวัด หรือ ข้ามประเทศ
การพัฒนามาตรฐานเพื่อรับรองผลผลิตมีความจำเป็นและสำคัญยิ่ง
ที่ผ่านมา
การเกษตรประเภทที่มีการพัฒนามาตรฐานได้อย่างซัดเจน คือเกษตรอินทรีย์ โดยเกษตรกรสามารถเข้าถึงมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่รับรองโดยกลไกรัฐ
โดยกลไกเอกซน และโดย กลไกบุคคลที่ 3 และสามารถเข้าถึงการพัฒนามาตรฐานสากลไค้ตามความต้องการที่จะเชื่อมโยง
ค้าขายผลผลิตในตลาดปลายทาง
การพัฒนาระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม
(Participatory Guarantee System - PGS) มีความสำคัญและได้รับการยอมรับจากหน่วยงานต่างๆมากขึ้น
เพราะช่วยประหยัดต้นทุนในการ รับรอง การพัฒนาระบบ การรับรองแบบมีส่วนร่วมสามารถรับรองแปลงเกษตรและผลผลิตที่เกิดขึ้นในกิจกรรมการเกษตรทุก
ประเภทที่เป็นส่วนหนึ่งของเกษตรกรรมยั่งยืน
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
SDGsPGS มีไว้เพื่อเป็นทางเลือก หนึ่งที่เครือข่ายเกษตรกรและภาคีร่วมพัฒนาสามารถนำไปพัฒนาเพื่อการรับรองแปลงและผลผลิต
จากกลุ่มเครือข่ายทั้งในประเทศไทยและในกลุ่มประเทศ ASEAN เครือข่าย SDGsPGS ไม่ใช่
เครือข่ายเพื่อการรับรองมาตรฐานแต่เพียงอย่างเดียว
หากแต่มาตรฐานการรับรองแบบมีส่วนร่วม เป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาและรับรองแปลง
รับรองผลิตผลเกษตร เกิดการเชื่อมโยง และการ จัดการนำผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างเป็นระบบทั้งห่วงโซ่อุปทาน
ต้นนํ้า กลางนํ้า และปลาย,น้ำ
วงจรการมีส่วนร่วม |
เครือข่าย SDGsPGS ได้พัฒนากลไกการขับเคลื่อนระดับจังหวัดขึ้นมา 4 กลไก
ได้แก่ กลไก คณะทำงานตรวจแปลงเกษตรอินทรีย์ กลไกธุรกิจ
กลไกคณะกรรมการรับรองมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
และสุดท้ายคือกลไกเพื่อดูแลการบริหารจัดการข้อมูลในระบบ ฐานข้อมูล SDGsPGS (Sustainable Agriculture Network) ใช้ตลาดนำการผลิต
ทำให้ สามารถช่วยเกษตรกรจัดการผลิตเพื่อการเข้าสู่ตลาดไต้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
4 กลไกการขับเคลื่อนระดับจังหวัด |
เครือข่าย SDGsPGS นอกจากพัฒนากลไก 4 กลไกระดับจังหวัดแล้ว
ในวันที่18พฤษภาคม 2561 ไต้ยกระดับเป็นกลไกขับเคลื่อนระดับประเทศ
“สหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่ง ประเทศไทย”
ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพในการการขับเคลื่อนการพัฒนามาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วน ร่วม SDGsPGS ร่วมกับกลไกจังหวัดทั่วประเทศ
ร่วมกับกลไกจังหวัดทั่วประเทศ |
ดังนั้น สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน จึงเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ
อุบลฯ สุรินทร์ เพื่อทำเกษตรอินทรีย์ให้ได้มาตรฐานการรับรอง
ภายใต้แบรนด์ SDGsPGS และนี้เป็นหนึ่งกลไกในการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
กล่าวคือ กลไกในการขับเคลื่อนมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS โดยมี 3 องค์กรได้แก่
1>สหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทย (องค์กรขับเคลื่อนระดับประเทศ),
2>สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนศรีสะเกษ ( องค์กรขับเคลื่อนระดับจังหวัด )
3.>บริษัทศรีสะเกษออแกนิค ( วิสาหกิจเพื่อสังคม) (ขับเคลื่อนการตลาดระดับจังหวัด)
4.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน ในระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
ภาพตัวอย่างใบรับรอง ของ ไมค์ภิรมย์พร |
Facebook Fanpage : สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนศรีสะเกษ