สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนศรีสะเกษ และสมาพันธ์อีกกว่า 20 จังหวัด ร่วมประชุมกับกรมการค้าภายใน หาแนวทางความร่วมมือเชื่อมโยงสินค้าเกษตรอินทรีย์
วันศุกร์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ๒๐๖๑๐ ชั้น ๖ กรมการค้าภายใน นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นประธานในที่ประชุมเพื่อหาแนวทางความร่วมมือเชื่อมโยงสินค้าเกษตรอินทรีย์ ให้เป็นระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ 2 ปีที่ผ่านมากับการขับเคลื่อน SDGsPGS สิ่งที่เราขาดคือการตลาด ความต้องการของเกษตรกรและพื้นที่คือมีออเดอร์การผลิตและตลาดที่แน่นอน ทำยังไงให้ความต้องการของตลาดที่ต้องการสินค้าและผู้ผลิตอย่างพวกเราเชื่อมโยงทุกคนไกลจนเกิดการค้าขายได้
1.ทำยังไงให้ทุกจังหวัดมีพื้นที่ตลาดเป็นของตัวเองภายในจังหวัดทุกจังหวัด
2.ทำยังไงให้จังหวัดใกล้เคียงสามารถบริหารจัดการช่วยเหลือ order กันได้
3.ทำยังไงให้การกระจายสินค้าไม่ได้มาจาก
จุดบุคคลที่มีออเดอร์เท่านั้นแต่สามารถแบ่งออเดอร์ที่ตนเองได้ไปให้ยังจังหวัดที่อยู่ใกล้กับผู้ซื้อมากที่สุด
4.ทำยังไงให้เรื่องกระบวนการขนส่งไม่มีผลกระทบต่อปริมาณ order ที่น้อยกลางหรือมาก
5.ทำยังไงให้ทุกจังหวัดมารวมตัวกันพร้อมทั้งเกิดวัฒนธรรมการค้าขายและวัฒนธรรมองค์กรร่วมกันอย่างมีจรรยาบรรณ
โดยมี ผู้นำสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน ๒๐ จังหวัด กลุ่มวิสากิจชุมชนเกษตรอินทรีย์จากภาคต่างๆ ทั่วประเทศ สมาคมภัตตาคารไทย สมาคมเดอะเชฟ สมาคมโรงแรมไทยและทีมงานกรมการค้าภายร่วม ๕๐ คน ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษ มี นายขวัญประชาเทียมใส และ
นายปราโมทย์ คำบาง เป็นตัวแทนจังหวัดในการร่วมประชุมในครั้งนี้
นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม กล่าวเปิดประเด็นในที่ประชุมว่า “วันนี้เราจะคุยเรื่องเกษตรอินทรีย์ล้วนๆ จะได้รู้ว่ามีผลผลิตเกษตรอินทรีย์อยู่ที่ไหน ผู้บริโภคผู้ประกอบการจะซื้อได้ยังไง กลุ่มเกษตรอินทรีย์จะร่วมมือกันอย่างไร สมาคมภัตตาคารไทย สมาคมเดอะเชฟ สมาคมโรงแรมไทยพร้อมร่วมใช้วัตถุดิบอินทรีย์ และยุทธศาสตร์ชาติในด้านการเกษตร มีเป้าหมายให้ทุกหน่วยงานภายใต้การบริหารนโยบายของรัฐบาลนี้ มุ่งไปสู่การผลิตสินค้าการเกษตรให้ปลอดภัยจากสารเคมี ซึ่งพี่น้องทุกคนที่เข้าร่วมประชุมในวันนี้ ถือว่าเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านนี้ และเป็นตัวจริงที่ทำอยู่แล้ว เพียงแต่ที่ผ่านมา กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการตลาด ยังไม่เห็นภาพรวมทั้งหมด ยังไม่ทราบว่าทุกท่านที่ทำเกษตรอินทรีย์อยู่ที่ไหนกันบ้าง มีความจำเป็นเร่งด่วนในการรวบรวมเครือข่ายที่กระจายกันอยู่ในพื้นที่ซี่งที่ผ่านมาต่างคนต่างทำต่างอยู่ ให้เชื่อมโยงมาอยู่ในระบบและมีฐานข้อมูลตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางให้ได้ มีความจำเป็นที่เราต้องยกระดับมาตรฐานและตราสัญลักษณ์สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีการขับเคลื่อนอยู่ให้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ด้วยการสร้างมาตรฐานซึ่งเป็นของประเทศเราเอง ไม่ต้องพึ่งอาศัยมาตรฐานสากลจากต่างประเทศ จะได้ไม่ต้องจ่ายเงินออกไปนอกประเทศ" นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม ยังกล่าวย้ำอีกว่า "ผมยังมีเวลาอยู่ในราชการอีกไม่ต่ำกว่า ๑๐ ปี ทางกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ยินดีสนับสนุนพี่น้องเกษตรกรอินทรีย์ทุกๆด้าน ติดปัญหาอะไรยินดีช่วยแก้ปัญหา รวมถึงการจัดหางบประมาณมาสนับสนุนในการขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมาย"
ที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ได้ยกประเด็นปัญหา วิธีการแก้ไข แลกเปลี่ยนประสบการณ์และเสนอความต้องการกันอย่างหลากหลาย เพื่อนำไปสู่การเชื่อมโยงสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้เกิดตลาดและการค้าขายกันได้จริง สุดท้ายประธานในที่ประชุมได้เสนอให้ทุกคนที่เข้าร่วมประชุม ช่วยกันวางแผนการทำงานโดยแบ่งคณะทำงานออกเป็นสามกลุ่มคือ ๑)คณะทำงานแผนยุทธศาสตร์ ๒)คณะทำงานระบบฐานข้อมูล และ ๓)คณะทำงานด้านมาตรฐาน โดยให้ทุกกลุ่มช่วยกันออกแบบวิธีการดำเนินงานให้แล้วเสร็จภายใน ๗ วัน
นายเชษฐา สุขประเสริฐ ประธานสหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทย กล่าวแสดงความยินดีที่ท่านวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าเกษตรอิทรีย์ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และพร้อมสนับสนุนเครือข่ายเกษตรอินทรีย์เต็มที่ ซึ่งท่านอธิบดีกรมการค้าภายใน นายวิชัย โภชนกิจ ก็ให้ความสำคัญเรื่องนี้ ในส่วนของสหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทย วันนี้มีตัวแทนจาก ๒๐ จังหวัดมาร่วมประชุมจากจำนวนสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนระดับที่ได้จัดตั้งขึ้นมาแล้ว ๔๐ จังหวัด ในภาคบ่ายได้มีการประชุมหารือกันต่อและที่ประชุมได้มีมติให้นำแผนการขับเคลื่อนของเครือข่าย SDGsPGS ที่ได้มีการประชุมหารือระหว่างวันที่ ๙-๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๒ ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องแผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานพัฒนาระบบฐานข้อมูล และการขับเคลื่อนด้านมาตรฐาน มาเชื่อมโยงกับคณะทำงานทั้ง 3 คณะ นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติจัดให้จัดตั้งกลไกธุรกิจกลางในรูปวิสาหกิจเพื่อสังคมเพื่อเชื่อมโยงผลผลิตและตลาดของเครือข่าย SDGsPGS ทั่วประเทศ และเพื่อจะได้ร่วมกันออกแบบกลไกธุรกิจกลางนี้โดยเร็ว จึงได้เสนอให้มีการจัดอบรมการทำแผนธุรกิจอีกครั้งในเดือนธันวาคม ๒๕๖๒ ซึ่งกรมการค้าภายในเคยจัดอบรมให้กับ ๘ จังหวัดภายในโครงการไทยนิยมยั่งยืน
#สมาพันเกษตรกรรมยั่งยืนศรีสะเกษ