หลักสูตรผู้ตรวจแปลงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ศรีสะเกษ ปี 2563

         1. การพัฒนาอย่างยั่งยืน Sustainable Development Goals(SDG)

        ริเริ่มโดยองค์การสหประชาชาติ จากปี พ.ศ. 2558 – 2573 คุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรโลกในทุกประเทศมีความสุขกาย ใจ ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี  ประเทศไทยกับการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้ทุกคนเข้มแข็ง อยู่ร่วมกันอย่างผาสุก มั่นคง และยั่งยืน

                  

    2. หลักการเกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable Agriculture)

เกษตรกรรมยั่งยืน คือ ระบบการเกษตรที่ครอบคลุมถึงวิถีชีวิตเกษตรกร กระบวนการผลิต และการจัดการทุกรูปแบบ เพื่อให้เกิดความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศน์ ซึ่งนำไปสู่การพึ่งตนเอง และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร และผู้บริโภค ซึ่งครอบคลุม , เกษตรอินทรีย์, เกษตรผสมผสาน, เกษตรทฤษฎีใหม่, และวนเกษตร



  3. ประเทศไทยกับการพัฒนายุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2564

            วิสัยทัศน์ ( Vision ) “ประเทศไทย เป็นผู้นำในระดับภูมิภาค ด้าน การผลิต การบริโภค การค้าสินค้าและการบริการเกษตรอินทรีย์ ที่มี ความยั่งยืน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล” 


        

     4. จังหวัดศรีสะเกษกับการพัฒนายุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2561 – 2565  ( ฉบับทบทวนปี พ.ศ. 2563 )

        วิสัยทัศน์ ( Vision )  “ ประตูการค้า การท่องเที่ยว สู่อารยธรรมขอมโบราณ ดินแดนเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน ”


                5. ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม PGS เป็นการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เป็นการรับรอของกลุ่มโดยองค์กรผู้ผลิตเอง โดยระบบชุมชนรับรองนี้จะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในระบบการตรวจรับรอง องค์ประกอบสำคัญของระบบชุมชนรับรอง PGS คือ วิสัยทัศน์, การมีส่วนร่วม, ความโปร่งใส่, ความเชื่อมั่นต่อกัน, กระบวนการเรียนรู้, ความเชื่อมโยงในแนวราบ


          6. การพัฒนามาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง  มุ่งพัฒนามาตรฐานเกษตรอินทรีย์เพื่อให้แปลงเกษตรกรได้รับมาตรฐาน ใช้ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือเพื่อจัดระบบให้เกิด การผลิต การจัดการผลผลิต การค้าขาย ผลผลิต จากกระบวนการผลิตแบบ เกษตรกรรมยั่งยืน ไปสู่ตลาด ให้ได้ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ



 
                 ต้นน้ำ การวางแผนการผลิต ทำการผลิตให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ

            กลางน้ำ การจัดการ รวบรวมผลผลิตเพื่อส่งต่อไปยังตลาด มีการจัดทำฐานข้อมูล การตรวจสอบย้อนกลับด้วย QR Code เป็นต้น

                  ปลายน้ำ การจัดทำแผนพัฒนาธุรกิจของเครือข่ายและกลุ่มองค์กร โดยใช้เครื่องมือ BMC เพื่อให้สมาชิกและผู้บริหาร สามารถมองเห็นและเข้าใจการเชื่อมโยงของแผนธุรกิจอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การผลิตสินค้า กลุ่มลูกค้า การเข้าถึงลูกค้า การบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ การร่วมมือกับพันธมิตร การลงทุน และการจัดกหารายได้ เป็นต้น



                7. การ ( เขย่าทัศน์ ) คือกระบวนการปรับวิสัยทัศน์ มาร่วมปรึกษาหารือแนวทางการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ ร่วมกัน โดยมีภาคีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมหารือแบบประชารัฐ โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง 

1. สร้างความเชื่อ ( Belief )

2. สร้างระบบวิธีคิด ( Thinking Method ) 

3. สร้างทัศนคติ ( Attitude )

4. สร้างพฤติกรรม ( Behavior ) 


       8. หลักสูตรผู้ตรวจแปลงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS  เป็นหลักสูตรเชิงปฏิบัติการเข้มข้น 3 วัน วันแรก คือ การพัฒนาผู้ตรวจแปลงเกษตรอินทรีย์ ตลอดจนเครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็น ต้องใช้ในการตรวจแปลง วันที่สอง ลงพื้นที่จริงเพื่อฝึกตรวจแปลง วันที่สาม การจัดตั้งกลไก ในระดับจังหวัด

  


  กลไกการรับรองมาตรฐาน ระดับจังหวัด ประกอบด้วยกระบวนการ 4 กลไก ดังนี้ คือ 
1. คณะทำงานตรวจแปลงเกษตรอินทรีย์ SDGsPGS
2. เครือข่ายธุรกิจ ในรูปวสช. วสค. หจก. สหกรณ์ เป็นต้น
3. คณะทำงานรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS จังหวัดศรีสะเกษ
4. คณะทำงานบริหารจัดการข้อมูลเกษตรกรรมยั่งยืน SDGsPGS.  SAN: Sustainable Agriculture Network
   


        กลไกการตรวจรับรองตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS  ประกอบด้วย 4 กลไกหลัก ดังนี้
            1. การตรวจแปลงตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS 
            2. การผ่านคณะกรรมการกลั่นกรอง
            3. การผ่านคณะกรรมการรับรอง
            4. การผ่านระบบ OAN 


                   การสร้าง/รักษามาตรฐาน และการตรวจสอบย้อนกลับ เป็นกระบวนการที่บูรณาการระหว่างปัจจัยนำเข้า การดำเนินการตรวจสอบผลการดำเนินงาน และผลผลิต ภายใต้มาตรฐานหลัก 22 ข้อ โดยทุกกระบวนการต้องได้รับการยอมรับในระดับจังหวัด ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม

                    
         
สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนศรีสะเกษ การขับเคลื่อนอย่างยั่งยืน มั่นคง และมีมาตรฐาน โดยเชื่อมโยงกับภาคีระดับชุมชน สังคมท้องถิ่น ส่วนงานราชการ องค์กรเอกชน และภาคประชาชน ได้แก่ สหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทย สมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม ฯลฯ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคนในสังคม







เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลด :  ใบสมัครสมาชิก ( สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนศรีสะเกษ )